อย่าร้องหาสวรรค์วิมานใดให้ช่วยเมื่อธรรมชาติถูกทำลายและภัยพิบัติก็ก่อตัวมากขึ้น

743
เต่ามะเฟือง เครดิตภาพจากกรูเกิ้ล

“ไข่เต่าหายแล้วจึงล้อมคอก”

เต่ามะเฟืองที่กำลังขุดทรายเพื่อวางไข่
เครดิตภาพจาก กรูเกิ้ล

ข่าวการขโมยไข่เต่ามะเฟืองที่หาดท้ายเหมืองเป็นข่าวเศร้าใจต่อชาวไทยทั้งประเทศตั้งแต่ต้นปี  ทั้งๆเมือเดือนธันวาคมปีที่เพิ่งมีรายงานว่าเต่าชนิดนี้เริ่มกลับมาวางไข่อีกครั้ง  หลังจากห่างหายไม่มีรายงานการขึ้นมาวางไข่ในบริเวณหาดแห่งนี้มากกว่า5ปี จากกรณีโจรกรรมนี้หน่วยงานต่างๆทั้งเอกชนและภาครัฐต่างลงขันตั้งเงินรางวัลค่าหัวนำจับโจรขโมยไข่เต่าตอนนี้ยอดสูงมากกว่า1แสนบาท นับได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมที่คนไทยร่วมมือกันปกป้องทรัพยากรของประเทศ แต่สิ่งที่ท้ายคือเราจะทำอย่างไรให้การปกป้องทะเลไทยเป็นกิจกรรมที่ยั่งยืน  ไม่ใช่เป็นกิจกรรมวัวหายแล้วจึงล้อมคอก

ท้องทะเลและสิ่งมีชีวิตได้อยู่นร่วมกัน

สิ่งที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการลงขันเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลในเมืองแคนคูณ (Cancun) รัฐกวินตานารู ประเทศแม็กซิโก  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เผยแพร่เป็นข่าวหมาดๆพร้อมกับข่าวโจรกรรมไข่เต่าในเมืองไทย  ในเว็บไซค์ Yale Climate Connection สื่ออนไลน์สารณะของคณะสิ่งแวดล้อมศึกษาและการป่าไม้ มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ได้เผยแพร่ข่าวว่ากลุ่มธรุกิจร้านค้าต่างๆในเมืองแคนคูณ ประเทศแม็กซิโกได้ลงขันกันซื้อประกันประการังและชายหาดในท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ในวงการธุรกิจประกันภัยโลก  เหตุผลที่กลุ่มผู้ประกอบการร่วมมือกันทำประกันภัยให้ประการังและชายหาดเนื่องจากการตกผลึกทางความคิดที่ว่า  แนวประการังทางธรรมชาติรอบเมืองแคนคูณคือกำแพงธรรมชาติที่สำคัญช่วยลดความเสียหายจากคลื่นและพายุที่จะเข้าทำลายโรงแรมและรีสอร์ทต่างๆตามชายหาดของเมือง นายเดฟ โจนส์ (Dave Jones) ผู้แทนขององค์การ Nature Conservancy และเคยเป็นอดีตกรรมมาธิการประกันภัยแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า “ประการังที่อุดมสมบูรณ์และแข็งแรงสามารถลดพลังงานของคลื่นที่เข้ากระแทกชายฝั่งให้ลดลงได้ถึง 97%  ดังนั้นความอุดมสมบูรณ์ของแนวประการังเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าชุมชนเมืองแคนคูณจะอยู่รอดหรือไม่เมื่อต้องเผชิญกับเฮอริเคนและพายุอื่นๆ”

อย่างไรก็ตามแนวประการังนั้นโดยธรรมชาติไม่ได้แข็งแรงอยู่ตลอดไป  บางครั้งอาจเสียหายจากพายุที่รุนแรงได้  เมื่อไม่มีแนวประการรังที่แข็งแรงย่อมสร้างความเสี่ยงที่ชายหาดจะได้รับการทำลายจากคลื่นที่รุนแรงในอนาคต  กลุ่มผู้ประกอบการในเมืองนี้และรัฐกวินตานารูจึงสมทบทุนทรัพย์สร้างเป็นเงินกองทุนประกันภัยประการังขึ้น  เมื่อมีวาตะภัยและคลื่นลมแรงซัดเข้าทำลายแนวประการัง  กองทุนประกันภัยนี้ก็จะจ่ายเงินจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นเพื่อเก็บกวาดชายหาด ฟื้นฟู และปลูกปะการังขึ้นใหม่อีกครั้ง  “มันเป็นหนทางหนึ่งที่เราจะจ่ายเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์และช่วยปกป้องมนุษย์จากผลกระทบภาวะโลกร้อนที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ” โจนส์กล่าว

เมื่อธรรมชาติโดยทำลายจากน้ำมือมนุษย์

เมื่อกลับมาพิจารณาดูสถานการณ์เต่าทะเลและประการังในเมืองไทย การตายของบรรดาเต่าและพะยูนมาเรียมจากขยะพลาสติก เป็นไปได้หรือไม่ว่าผู้ประกอบการรอบชายหาดต่างๆจะช่วยกันลงขันเป็นกองทุนเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล  ให้คืนความอุดมสมบูรณ์ ยั่งยืน และช่วยบรรเทาภัยพิบัติต่างๆที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นต่อคนไทย หรือจะรอให้เกิดเหตุการ “ไข่เต่าหายแล้วจึงล้อมคอก” ซ้ำๆอีกเรื่อยไป

 

เครดิตคลิปข่าวจากไทยรัฐออนไลน์
นักเขียน/นักแปล/ผู้เรียนเรียง  อดิศร สุนทรารักษ์ (นักพัฒนาชนบทภูเขา ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในป่าแห่งหนึ่ง)

อดิศร

สุทรารักษ์ นักเขียน นักแปล ผู้เรียบเรียง

อ้างอิง

https://www.yaleclimateconnections.org/2020/01/cancun-businesses-take-out-insurance-policy-on-a-coral-reef/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here