การเยียวยาผลกระทบจากก COVID-19 แถลงการณ์รัฐบาลและพรก.ฉุกเฉิน
ในที่สุดรัฐบาลไทยได้ประกาศ พรก.ฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรคระบาดโควิด หรือ COVID-19 ซึ่งมีแนวโน้มว่าตัวเลขของผู้ติดเชื้อภายในประเทศกำลังจะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มาตรการต่างสำหรับความคุมการะบาดได้ถูกประกาศใช้ออกมาเรื่อยๆ เช่น การขอความร่วมร่วมประชาชนให้อยู่ในพื้นที่จำกัด การงดเดินทางหากไม่จำเป็น และการปิดสถานที่ให้บริการต่างๆ อย่างไรก็ตามมาตรการต่างๆเหล่านี้เมื่อประกาศใช้แล้วย่อมมีผลกระทบในทางลบโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจการค้า เนื้อหาที่จะนำเสนอต่อไปนี้คือสรุปความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดจากการประกาศมาตรการควบคุมโรคติดต่อดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มผู้รับผลประโยชน์หลักดังนี้
-
ผู้มีอาชีพอิสระ หมายถึงกลุ่มคนที่ไม่มีประกันสังคม ไม่มีสัญญาจ้างงานกับบุคคลหรือหน่วยงานใดถาวร เช่น ช่างก่อสร้างที่รับค่าแรงรายวันชั่วคราวไม่กี่วัน เจ้าของร้านรถเข็นขายหมูปิ้ง ประชากรกลุ่มนี้หากได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ขายของไม่ได้ งานถูกยกเลิก สามารถลงทะเบียนติต่อรับเงินรับเงินชดเชยได้ที่เวบไซค์ เราไม่ทิ้งกัน.com คาดว่ารัฐบาบลจะสามารถเปิดเวบไซค์นี้ได้ในวันเสาร 28 มีค. จะได้รับเงินดำรงชีพผ่านบัญชีพร้อมเพย์เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลานาน 3 เดือน
-
ผู้รับสิทธิประกันสังคม การช่วยเหลือประเภทนี้ถูกจัดเตรียมไว้สำหรับผูที่มีงานประจำแต่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง COVID-19 คือ
-
การถูกเลิกจ้าง
-
การลาออกหรือสินสุดสัญญาจ้าง
-
สถานที่ทำงานถูกรัฐบาลสั่งปิด
-
สถานที่ทำงานถูกเจ้าของสั่งปิด
-
และการจำเป็นต้องได้รับการกักกันโรคเนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยง
ผู้มีสิทธิเอาประกันสามารถเข้ากรอกข้อมูลเพื่อใช้สิทธิการเอาประกันได้ที่เวบไซค์นี้ https://www.sso.go.th/eform_news/sso-covid19-benefit1.html โดยจะได้รับรับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างเดือนสุดท้าย แต่สูงสุดไม่เกิน7,500 บาท
นอกจากให้เงินชดเชยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้เตรียมเงินทุนกู้ฉุกเฉินให้กลุ่มคนงานที่สูญเสียโอกาสในการทำงาน รายละ10,000-50,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
กรณีเงินกู้ฉุกเฉินไม่เกิน 10,000 บาท ระยะเวลากู้ไมเกิน 2 ปี 6 เดือน คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 บาทต่อเดือน โดยมีระยะไม่ต้องส่งเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนและไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ใดค้ำประกัน สินเชื่อเปิดให้บริการที่ธนาคารออมสินและธกส. ตั้งแต่เดือน เม.ย. ถีง 30 ธ.ค. ปี 63
-
สินเชื่อพิเศษไม่เกิน 50,000 บาทต่อบุคคล ระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 35 บาทต่อเดือน และต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้สนใจสามารถติดต่อขอกู้ได้ที่ธนาคารออมสิน ตั้งแต่เดือน เม.ย. ถีง 30 ธ.ค. ปี 63
-
มาตรการการดูแลและเยียวยาแรงงาน -
รัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมโดยจัดเตรียมเงินกู้ให้สถานธนานุเคราะห์ดอกเบี้ยต่ำ ยืดระยะเวลาการเสียภาษีไปเดือนสิงหาคม เพิ่มวงเงินลดหย่อนเบี้ยประกันเป็น 25,000 บาทต่อปี ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับอาชีพเสี่ยงภัยทางการแพทย์ และยังได้จัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆเพิ่มเติมให้กับผู้ได้รับผลกระทบ
เรียบเรียงโดย อดิศร สุนทรารักษ์
อ้างอิง